วิชา แปลไทยเป็นมคธ
- รายละเอียด
- ผู้สอน
รายละเอียด วิชา แปลไทยเป็นมคธ | ป็นวิชาว่าด้วยการแต่งประโยคภาษาบาลี สำหรับวิชากลับชั้นประโยค ป.ธ. ๔ คณะสงฆ์ไทยกำหนดให้ใช้หนังสือธัมมปทัฏฐกถา ภาค ๑ เป็นเนื้อหาประกอบการเรียน “ธมฺมปทัฏฐกกถา” หรือ “ธรรมบทอรรถกถา” แปลว่า คำอธิบายธรรมบท คัมภีร์นี้ พระพุทธโฆสาจารย์ มหาปราชญ์ภาษาบาลีแห่งชมพูทวีป ได้รจนาขึ้นเมื่อ พ.ศ. 945 โดยท่านนำพระคาถาและเค้าโครงเนื้อเรื่องมาจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาในที่ต่างๆ นำมาเรียบเรียง เป็นเรื่องราว มีบุคคล และสถานที่ ก่อนที่จะมาถึงคาถาหัวใจของเรื่อง ทำให้ผู้อ่านผู้ศึกษาเข้าใจเนื้อเรื่อง และธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสั่งสอนได้ อย่างน้อยที่สุดก็ระดับคุณธรรมศีลธรรม แต่ท่านใดที่มีพื้นฐาน การศึกษาทั้งไวยากรณ์บาลีใหญ่และพระอภิธรรมมาก่อน ก็จะเป็นเหตุทำให้เข้าใจได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น หนังสือดัง กล่าวจัดอยู่หมวดพระสูตร เป็นศิลปะในการดำเนินชีวิตของทั้งภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา ว่าใน อดีตเคยทำกรรมอะไรไว้ และปัจจุบันทำกรรมอะไร จึงได้รับผลเช่นนั้น
ผู้สอน | พระมหาวิทยา กิตฺติปญฺโญ
วุฒิการศึกษา | ประโยค ป.ธ. 8 , พธ.บ. บริหารการศึกษา
วุฒิการศึกษา | ประโยค ป.ธ. 8 , พธ.บ. บริหารการศึกษา
เรื่องที่ 1 : พระจักขุบาล
หน้าที่ |
เริ่ม – จบ |
3 – 4 |
ยมกวคฺค วณฺณนา – โภคํ ทฺวินฺนํเยว วิวเรสุํฯ |
4 – 5 |
ตสฺมึ สมเย สตฺถา – เอกํ ธมฺมเทสนํ กเถสิเยวฯ |
5 – 7 |
ตทา สาวตฺถิยํ – ปพฺพชิสฺสาเมวาหํ ตาตาติฯ |
7 – 8 |
ตสฺส วิรวนฺตสฺเสว – กริสฺสามีติ ปวาเรสิฯ |
8 – 9 |
เถโร วสฺสูปนายิกาทิวเส – ปุนปฺปุนํ ยาจิฯ |
9 – 11 |
มนฺเตตฺวา ชานิสฺสามีติ – คพฺภํ ปวิสิตฺวา นิสีทิฯ |
11 – 13 |
ภิกฺขู ภิกฺขาจารเวลาย – ตํ ปวตฺตึ อาโรเจสุํฯ |
13 – 15 |
โส เตสํ ปาทมูเล – คจฺฉาม ภนฺเตติ อาหฯ |
15 – 18 |
อถ นํ เถโร – กตฺวา เถรํ อุปฎฺฐหึสุฯ |
18 – 20 |
อเถกทิวสํ ทิสาวาสิโน – วหโต ปทนฺติฯ |